คณะอนุกรรมการพิสูจน์สิทธิในที่ดินของรัฐจังหวัด (คพร. จังหวัด)

องค์ประกอบ

 1. ผู้ว่าราชการจังหวัด ประธานอนุกรรมการ
 2. อัยการจังหวัด อนุกรรมการ
 3. ธนารักษ์พื้นที่ อนุกรรมการ
 4. ปฏิรูปที่ดินจังหวัด อนุกรรมการ
 5. ประชาสัมพันธ์จังหวัด อนุกรรมการ
 6. ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 - 12 ที่รับผิดชอบพื้นที่ อนุกรรมการ
 7. ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 - 16 ที่รับผิดชอบพื้นที่ อนุกรรมการ
 8. ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 - 13 ที่รับผิดชอบพื้นที่ อนุกรรมการ
 9. นายอำเภอท้องที่ หรือปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
(เฉพาะข้อโต้แย้งสิทธิในที่ดินของรัฐที่อยู่ในการดูแลรับผิดชอบที่บรรจุอยู่ในวาระการประชุม)
อนุกรรมการ
10. หัวหน้าส่วนราชการ ที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ
(เฉพาะข้อโต้แย้งสิทธิในที่ดินของรัฐที่บรรจุอยู่ในวาระการประชุม)
อนุกรรมการ
11. ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ อนุกรรมการ
12. ปลัดจังหวัด อนุกรรมการและเลขานุการ
13. หัวหน้าสำนักงานจังหวัด อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
14. เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
15. ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
16. ข้าราชการในสังกัดที่ทำการปกครองจังหวัดที่ประธาน คพร.จังหวัด แต่งตั้ง จำนวน 1 คน อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

หน้าที่และอำนาจ

  1. พิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของบุคคลในเขตที่ดินของรัฐ ตามมาตรการที่คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติกำหนด ในกรณีที่ต้องใช้ภาพถ่ายทางอากาศประกอบการพิสูจน์สิทธิ ให้ใช้ผลการอ่าน แปล ตีความภาพถ่ายทางอากาศของคณะอนุกรรมการอ่านภาพถ่ายทางอากาศที่คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติแต่งตั้ง
  2. กำกับ ติดตาม ดูแลการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐที่ดูแลรักษาและใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการตามนโยบาย แผนงาน มาตรการที่คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติกำหนด
  3. กำหนดแผนงานประจำปี ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับที่ดินของรัฐ และรายงานให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติทราบ
  4. ตรวจสอบหรือดำเนินการใด ๆ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาที่ดินของรัฐ และการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินของรัฐ หากพบว่าดำเนินการไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือดำเนินการไปโดยผิดพลาดคลาดเคลื่อน ให้แจ้งหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และคำสั่งที่เกี่ยวข้อง
  5. รวบรวมข้อมูล เอกสารหลักฐาน และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการครอบครองที่ดินของบุคคลในเขตที่ดินของรัฐ
  6. เร่งรัดการพิจารณาวินิจฉัยคำขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินของบุคคลในเขตที่ดินของรัฐให้เป็นที่ยุติลงด้วยความรวดเร็ว
  7. เรียกให้หน่วยงานของรัฐส่งข้อมูล เอกสารหลักฐาน ข้อเท็จจริง หรือขอให้ส่งผู้แทนมาชี้แจงเพื่อประกอบการพิจารณา หรือเชิญบุคคลใด ๆ มาให้ความเห็นต่อ คพร. จังหวัด
  8. แต่งตั้งคณะทำงาน หรือเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการหรือปฏิบัติงานใด ๆ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับที่ดินของรัฐ ตามที่ได้รับมอบหมาย
  9. ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานของ คพร. จังหวัด และเสริมสร้างความเข้าใจในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับที่ดินของรัฐ ในเขตจังหวัด
  10. ให้มีการจัดการประชุม คพร. จังหวัด เป็นประจำทุกเดือน หรือภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องการพิสูจน์สิทธิ และเมื่อประชุมเสร็จแล้วให้รายงานผลการดำเนินงานให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติทราบด้วย
  11. รายงานผลการปฏิบัติงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับที่ดินของรัฐให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติทราบ
  12. ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติมอบหมาย
หมายเหตุ  องค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจ ตามคำสั่งคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ที่ 1/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สั่ง ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566