เมื่อวันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน 2561 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ครั้งที่ 2/2561 โดยมี พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รองประธานกรรมการ คนที่ 2) พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ และผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยมี นางรวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการและเลขานุการ ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล
ที่ประชุมมีเรื่องเสนอเพื่อทราบ จำนวน 3 เรื่อง
- ผลการดำเนินงานตามมติ คทช. ครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2561
- ผลการดำเนินงานของฝ่ายเลขานุการ คทช. สรุปดังนี้
- งบประมาณบูรณาการแผนงานการจัดการปัญหาที่ดินทำกิน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 14 หน่วยงาน งบประมาณรวม 255,922,700 บาท รอบ 6 เดือน (ตุลาคม 2560 – มีนาคม 2561) เบิกจ่ายแล้ว 89,597,345.41 บาท คิดเป็นร้อยละ 35.01
- โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาลของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจง ทำความเข้าใจ และให้ข้อเสนอแนะกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- จัดทำคู่มือการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจังหวัดใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน
- ผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการภายใต้ คทช. สรุปดังนี้
- การกำหนดพื้นที่เป้าหมายและการอนุญาตเข้าทำประโยชน์
- พื้นที่เป้าหมายดำเนินการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน 635 พื้นที่ 70 จังหวัด เนื้อที่รวม 1,066,307-3-91.66 ไร่
- เห็นชอบพื้นที่เป้าหมายที่ผ่านการพิจารณาจาก คทช.จังหวัด 313 พื้นที่ 66 จังหวัด เนื้อที่รวม 808,069-1-91.31 ไร่
- หน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่ได้อนุญาตให้เข้าประโยชน์แล้ว 100 พื้นที่ 50 จังหวัด เนื้อที่รวม 376,880-0-75.64 ไร่
- มอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์แล้ว 81 พื้นที่ 45 จังหวัด เนื้อที่รวม 295,615-0-75.84 ไร่
- การจัดที่ดิน (จัดคนเข้าทำประโยชน์) ให้ประชาชนไปแล้ว จำนวน 166 พื้นที่ 61 จังหวัด จำนวน 46,674 ราย 58,362 แปลง เนื้อที่รวม 329,772 ไร่
- พื้นที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแล้ว จำนวน 112 พื้นที่ 55 จังหวัด เนื้อที่รวม 377,652-2-74 ไร่ ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 6 ด้าน คือ
- ด้านการพัฒนาที่ดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นฐานข้อมูล (Zoning)
- ด้านพัฒนาแหล่งน้ำและการพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน
- ด้านการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ
- ด้านการส่งเสริมการรวมกลุ่ม
- ด้านการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งทุน
- ด้านส่งเสริมและการจัดทำบัญชีครัวเรือน
- ความคืบหน้าการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย จำนวน 6 โครงการ
- โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง เป้าหมาย 20,292 หน่วย แล้วเสร็จ 334 หน่วย
- โครงการเคหะชุมชนและบริการ เป้าหมาย 34,394 หน่วย แล้วเสร็จ 15,193 หน่วย
- โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า เป้าหมาย 1,376 หน่วย
- โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย (เช่า) เป้าหมาย 5,128 หน่วย
- โครงการบ้านสวัสดิการข้าราชการ (เช่าซื้อ) เป้าหมาย 3,000 ครัวเรือน
- โครงการบ้านข้าราชการ (บ้านหลวง) เป้าหมาย 2,500 หน่วย
- ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน มีข้อเสนอแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
- ความชัดเจนและต่อเนื่องของนโยบายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน การจัดที่ดินในลักษณะแปลงรวมโดยไม่ให้กรรมสิทธิ์ และการชี้แจงให้เจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติในพื้นที่เข้าใจถึงนโยบาย
- การปรับปรุงกฎระเบียบการบริหารจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสม การอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน นอกเหนือจากการดำเนินงานโดยภาครัฐเพียงส่วนเดียว เพื่อให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ
- เร่งดำเนินการจัดทำสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในพื้นที่เป้าหมาย เช่น ไฟฟ้า ประปา ถนน บ่อน้ำ เป็นต้น
- การให้ความรู้และพัฒนาทักษะทางด้านเกษตร และความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการทำมาหากินให้กับผู้ที่ได้รับการจัดที่ดิน รวมถึงการหาตลาดเพื่อรองรับสินค้าการเกษตร
- การสำรวจความต้องการผู้ที่ได้รับการจัดที่ดิน และการติดตามผลการจัดที่ดินเพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงาน
- การกำหนดพื้นที่เป้าหมายและการอนุญาตเข้าทำประโยชน์
- ผลการดำเนินงานของฝ่ายเลขานุการ คทช. สรุปดังนี้
- ความคืบหน้าการเสนอ ร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. ....
- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แจ้งว่าคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 7) ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... แล้วเสร็จ โดยแก้ไขบทบาทและอำนาจหน้าที่ของ คทช.ให้มีบทบาทและอำนาจหน้าที่เฉพาะการกำหนดนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศในภาพรวม เพื่อบูรณาการนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินที่ดำเนินการตามกฎหมายต่าง ๆ และกำกับดูแลให้หน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบภารกิจด้านที่ดินและทรัพยากรดิน ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของตน เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินที่ คทช. กำหนด
- สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ยืนยันร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวทั้ง 2 ฉบับ ตามที่สำนักงานคณะกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว เพื่อให้ร่างกฎหมายทั้งสองฉบับสามารถเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้
- การดำเนินงานแก้ไขปัญหาข้อเรียกร้องของกลุ่มขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.)
- ผลการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามข้อเรียกร้องของ ขปส. จำนวน 58 ชุมชน สามารถดำเนินการได้ 32 ชุมชน โดยอนุญาตตามกฎหมายแล้ว 8 ชุมชน อยู่ระหว่างดำเนินการ 24 ชุมชน ยังไม่สามารถดำเนินการได้ 26 ชุมชน เนื่องจากอยู่ระหว่างการแก้ไขกฎหมาย การปรับปรุงหลักเกณฑ์และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ชุมชนไม่ประสงค์จะเข้าร่วม การอยู่อาศัยในลักษณะบุกรุก และหน่วยงานขอยกเลิกพื้นที่เป้าหมาย
- สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหนังสือแจ้งหน่วยงาน 5 กระทรวง ประกอบด้วย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม และกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ที่ยื่นคำขอ จำนวน 486 ชุมชน เสนอคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน และคณะอนุกรรมการจัดหาที่ดิน ภายใต้ คทช. เพื่อพิจารณากำหนดเป็นพื้นที่เป้าหมายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนต่อไป
- การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 5 ครั้งที่ 4/2561 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2561 ได้พิจารณาการแก้ไขปัญหาของราษฎรกลุ่มขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม โดยรับทราบข้อตกลงและแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาของ ขปส. และการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาของ ขปส. ภายใต้ กขป.5 ตามข้อเสนอของ ขปส. โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุวพันธ์ ตันยุวรรธนะ) เป็นประธานคณะอนุกรรมการเพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหา
ที่ประชุมมีเรื่องพิจารณา จำนวน 2 เรื่อง ดังนี้
- พื้นที่เป้าหมายและกรอบมาตรการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ป่าไม้ (ทุกประเภท)
ในการประชุมคณะอนุกรรมการจัดหาที่ดิน ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2561 ได้กำหนดให้มีการเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาที่ดินที่มีราษฎรถือครองในเขตพื้นที่ป่าไม้ ในส่วนที่ไม่ได้นำมาดำเนินการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายของรัฐบาล ดังนี้- ประเภทพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
- กลุ่ม 1 ชุมชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่อยู่ในลุ่มน้ำชั้น 3, 4, 5 ก่อนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541
“ร่าง” กรอบมาตรการ อนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.) - กลุ่ม 2 ชุมชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่อยู่ในลุ่มน้ำชั้น 3, 4, 5 หลังมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541
“ร่าง” กรอบมาตรการ อนุญาตให้อยู่อาศัยและทำกินแบบแปลงรวม โดยออกแบบการใช้พื้นที่ร่วมกันระหว่างชุมชนและหน่วยงานรัฐ โดยชุมชนต้องดูแลรักษาและใช้ประโยชน์พื้นที่ในลักษณะที่เกื้อกูลต่อการอนุรักษ์ตามที่กำหนดร่วมกัน - กลุ่ม 3 ชุมชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่อยู่ในลุ่มน้ำชั้น 1 และ 2 ก่อนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541
“ร่าง” กรอบมาตรการ- จัดระเบียบการใช้ที่ดินทำกิน และรับรองการอยู่อาศัยทำกินในลักษณะแปลงรวม
- กำกับควบคุมจัดการการใช้ที่ดินและป่าไม้ ภายใต้การอนุรักษ์และพัฒนาอย่างยั่งยืน ห้ามบุกรุก ขยายพื้นที่
- ฟื้นฟูสภาพป่าในรูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมราษฎรปลูกป่า 3 อย่าง
- ใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ ควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดการชะล้างพังทลาย
ชุมชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่อยู่ในลุ่มน้ำชั้น 1 และ 2 หลังมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541
“ร่าง” กรอบมาตรการ วางแผนร่วมกับราษฎรและกรรมการหมู่บ้าน ประชาคม/ออกแบบ/คัดเลือกพันธุ์ไม้ตามแนวพระราชดำริปลูกป่า 3 อย่าง เพื่อฟื้นฟูสภาพป่า โดยกรมป่าไม้จัดหาพันธุ์ไม้และให้ราษฎรเป็นผู้ดูแลต้นไม้ที่ปลูก และราษฎรใช้ประโยชน์ที่ดินในระหว่างแถวของต้นไม้ได้ โดยราษฎรจะได้รับประโยชน์จากการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากไม้ที่ปลูกและพืชพื้นล่างด้วย
- กลุ่ม 1 ชุมชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่อยู่ในลุ่มน้ำชั้น 3, 4, 5 ก่อนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541
- ประเภทพื้นที่ป่าอนุรักษ์
- กลุ่ม 4 ชุมชนที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ ก่อนและหลังมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541
“ร่าง” กรอบมาตรการ- หลักการจัดการพื้นที่ เพื่อคงเจตนารมณ์ของการกำหนดกฎหมายเกี่ยวกับพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ชุมชนที่จะได้รับการพิจารณา ต้องเป็นชุมชนที่อาศัยอยู่เดิม ไม่มีการจัดที่ดินให้แก่บุคคลภายนอกพื้นที่ มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ทำกินที่เป็นที่ยอมรับร่วมกัน และเป็นการให้สิทธิทำกินมิให้เอกสารสิทธิ
- แนวทางการจัดการพื้นที่ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก คือ การสำรวจการครอบครองที่ดิน และการบริหารจัดการพื้นที่ เพื่อให้ได้ข้อตกลง แนวเขตบริหารเพื่อการอนุรักษ์ ที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายในรูปแบบของการประชาคมของชุมชน ทั้งนี้ เป็นการการเตรียมความพร้อมของชุมชนในการพิจารณาอนุญาต เมื่อร่าง พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. .... และ ร่าง พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. .... ได้รับการพิจารณาเห็นชอบและมีผลใช้บังคับแล้ว
- กลุ่ม 4 ชุมชนที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ ก่อนและหลังมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541
- ประเภทพื้นที่ป่าชายเลน
- กลุ่ม 5 ชุมชนในพื้นที่ป่าชายเลน
- พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และพื้นที่เกษตรกรรม
- พื้นที่เมืองและสิ่งก่อสร้างถาวร
"ร่าง" กรอบมาตรการ- กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
- ดำเนินการจัดทำเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน พร้อมทั้งกันพื้นที่ดินส่วนที่อยู่ห่างจากทะเล ไม่น้อยกว่า 100 เมตร และพื้นที่ที่อยู่ห่างจากริมคลองไม่น้อยกว่า 20 เมตร เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน
- ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับป่าชายเลน และกำหนดอัตราและเรียกเก็บค่าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน ในกรณีต่าง ๆ
- เสนอและรับฟังข้อคิดเห็นของคณะอนุกรรมการบูรณาการด้านบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนและป่าชายหาด
- คณะทำงานสำรวจการครอบครองที่ดินระดับพื้นที่
- จัดประชุมชี้แจงราษฎรในพื้นที่เป้าหมาย
- สำรวจ ตรวจสอบและจัดทำแผนผังที่ดินรายแปลง
- จัดทำขอบเขต แผนผัง บริเวณที่ยังคงสภาพป่า
- คณะกรรมการบริหารพื้นที่ป่าชายเลน
- จัดทำแผนบริหารจัดการและโครงการเพื่อการอนุญาต
- รับฟังความคิดเห็นของคณะอนุกรรมการบูรณาการด้านบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนและป่าชายหาดและนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายและแผนบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ
- นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบและยกเว้นมติคณะรัฐมนตรี
- ดำเนินการอนุญาต ตามแผนบริหารจัดการพื้นที่และหลักเกณฑ์ที่ผ่าน
- กลุ่ม 5 ชุมชนในพื้นที่ป่าชายเลน
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบพื้นที่เป้าหมาย และกรอบมาตรการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ป่าไม้ (ทุกประเภท)
- ประเภทพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
- การเตรียมการเพื่อเสนอนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 เห็นชอบแนวทางการเสนอแผนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติ โดยกำหนดให้แผนระดับที่ 3 หมายถึง แผนที่จัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของแผนระดับที่ 1 (ยุทธศาสตร์ชาติ) และแผนระดับที่ 2 (แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนความมั่นคง) และกำหนดการตั้งชื่อแผนในระดับที่ 3 โดยให้ใช้ชื่อว่า “แผนปฏิบัติการด้าน ... ระยะที่ ... (พ.ศ. .... - ....) เว้นแต่ในกรณีที่มีบทบัญญัติตามกฎหมายที่กำหนดชื่อแผนไว้แล้ว” ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ- การเสนอ “(ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. 2560 - 2579)” ต่อคณะรัฐมนตรี โดยใช้ชื่อ “(ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. 2560 - 2579)” มีความเหมาะสม เนื่องจากเป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของ คทช. ที่กำหนดไว้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. 2557
- การปรับชื่อ (ร่าง) แผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. 2560 - 2564) เป็น “แผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2560 - 2564)” เนื่องจากแผนฯ ดังกล่าวเป็นแผนในเชิงปฏิบัติที่ได้บรรจุแผนงาน/โครงการที่มีความชัดเจน และต้องอาศัยการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก โดยการปรับชื่อดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญของแผนฯ ซึ่ง คทช. ได้มีมติเห็นชอบ เมื่อคราวประชุม ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2561