การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) จุดเริ่มต้นสำคัญเพื่อนำไปสู่เอกภาพในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ ...

โดย ว่าที่ ร.ต. พีรพล มั่นจิตต์

ผู้อำนวยกองที่ดินของรัฐ
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ

การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ตามมาตรา 10 (7) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. 25621 ประกอบมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2561 และเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2562 เป็นโครงการที่เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อหน่วยงานของรัฐและประชาชน คือ เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญเพื่อนำไปสู่เอกภาพในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐฯ (One Map) สามารถช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน และที่อยู่อาศัยของประชาชนได้ ดังนี้

  1. การดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐฯ (One Map) จะช่วยลดปัญหาการทับซ้อนกันของที่ดินของรัฐแต่ละประเภทลงได้ โดยพบว่าภายหลังการปรับปรุงพื้นที่กลุ่มที่ 1 จำนวน 11 จังหวัด มีพื้นที่ลดลงจำนวน 1,482,925.45 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 43.94 พื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด มีพื้นที่ลดลงจำนวน 16,910,421.03 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 47.15 และพื้นที่กลุ่มที่ 3 จำนวน 11 จังหวัด มีพื้นที่ลดลงจำนวน 48,755,909.23 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 54.21
  2. การที่โครงการ One Map ยึดกรอบแนวคิด “หนึ่งพื้นที่ หนึ่งหน่วยงานรับผิดชอบ” (One Land One Law) มีผลดีทำให้การบริหารจัดการที่ดินของรัฐมีเอกภาพ มีหน่วยงานรับผิดชอบชัดเจน การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งทำให้ประชาชนได้ทราบถึงแนวเขตที่ดินของรัฐ และหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน
  3. ส่งผลให้ประเทศไทยมีแนวเขตที่ดินของรัฐที่ถูกต้อง ทันสมัย อยู่บนพื้นฐานแผนที่มาตราส่วน 1 : 4000 ลดความซ้ำซ้อนในการใช้จ่ายงบประมาณ และบุคลากรในการดูแลรักษา คุ้มครองป้องกันที่ดินของรัฐ
  4. เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน หรือจัดที่ดินให้กับประชาชน หรืออนุญาตให้ประชาชนใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ สามารถสอบทานข้อมูลได้ง่าย เกิดความสะดวก รวดเร็วในการให้บริการกับประชาชน
  5. เมื่อประชาชนทราบถึงขอบเขตที่ดินของรัฐที่ชัดเจน สามารถตรวจสอบได้สะดวก ส่งผลให้การทำประโยชน์ในที่ดิน หรือการใช้ที่ดินได้เป็นไปอย่างถูกต้องโดยไม่รุกล้ำที่ดินของรัฐ ทำให้มีคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมที่ดีขึ้น
  6. ช่วยลดปัญหาข้อพิพาท หรือความขัดแย้งเรื่องแนวเขตที่ดินระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชน หากเกิดการโต้แย้งสิทธิ สามารถเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สิทธิในที่ดิน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติ หรือตามที่ คทช. กำหนด
  7. เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนได้ว่า การดำเนินโครงการ One Map จะไม่มีการลิดรอนสิทธิ หรือกระทบสิทธิของประชาชนที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย และยึดหลักการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565
  8. เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบผลการดำเนินการ One Map แล้ว หน่วยงานที่มีที่ดินของรัฐอยู่ในความรับผิดชอบจะดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี ในขั้นตอนดังกล่าว หน่วยงานของรัฐ จะต้องรับฟังความเห็นของประชาชน ซึ่งเป็นไปตามหลักการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทำให้การบริหารจัดการที่ดินของรัฐเกิดความยั่งยืนต่อไป

ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการ คทช. ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐเป็นอย่างมาก เนื่องจากจะเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการที่ดินแก่ประชาชนและหน่วยงานของรัฐตามที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากนี้ สคทช. ยังให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวให้กับทุกฝ่ายได้รับทราบ ตลอดจนกำหนดมาตรการในการแก้ไขผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงแผนที่แบบบูรณาการมาตรส่วน 1 : 4000 (One Map) ตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดอีกด้วย


อ้างอิง

1 พระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. 2562, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 49 ก (14 เมษายน 2562).


epetitions

complaint

Slide

รางวัล คนดีศรี สคทช. ประจำปี 2567

Slide

รางวัล คนดีศรี สคทช. ประจำปี 2567

Slide

รางวัล คนดีศรี สคทช. ประจำปี 2567

Slide

รางวัล คนดีศรี สคทช. ประจำปี 2567

Slide

รางวัล คนดีศรี สคทช. ประจำปี 2567

Slide

รางวัล คนดีศรี สคทช. ประจำปี 2567

Slide

รางวัล คนดีศรี สคทช. ประจำปี 2567

Slide

รางวัล คนดีศรี สคทช. ประจำปี 2567

previous arrow
next arrow
Slide