อำนาจหน้าที่

สำนักงานผู้อำนวยการ

มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

  1. ดำเนินการเกี่ยวกับงานบริหารทั่วไป งานสารบรรณ งานช่วยอำนวยการและประสานราชการของสำนักงาน
  2. ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อเสนอให้มีการตรา ปรับปรุง แก้ไข หรือยกเลิกกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ และข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน
  3. เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณากำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา กรณีหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการตามกฎหมายอื่นหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินซ้ำซ้อนหรือขัดแย้งกัน
  4. เสนอความเห็นแก่หน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจในการจัดที่ดินของรัฐให้ดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางที่คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติกำหนด
  5. ให้คำปรึกษาและเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
  6. พิจารณาข้อร้องเรียนและปัญหาเกี่ยวกับที่ดินและทรัพยากรดิน และดำเนินการตรวจสอบพร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  7. ดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่ง อาญา งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของสำนักงาน
  8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ผู้อำนวยการมอบหมาย

กองกฎหมาย

มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

  1. ดำเนินการด้านกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน ตามหน้าที่และอำนาจของสำนักงานและตามที่ได้รับมอบหมาย
  2. ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อเสนอให้มีการตรา ปรับปรุง แก้ไข หรือยกเลิกกฎหมาย กฎระเบียบ ประกาศ และข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน
  3. เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณากำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา กรณีหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการตามกฎหมายอื่นหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินซ้ำซ้อนหรือขัดแย้งกัน
  4. เสนอความเห็นแก่หน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจในการจัดที่ดินของรัฐให้ดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางที่คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติกำหนด
  5. ให้คำปรึกษาและเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
  6. ดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่ง อาญา งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของสำนักงาน
  7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ผู้อำนวยการมอบหมาย

กองที่ดินของรัฐ

มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

  1. ศึกษาและวิเคราะห์เพื่อเสนอแนะมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ และดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ
  2. ศึกษาและวิเคราะห์เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐและมาตรการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานของรัฐในการแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐ
  3. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ผู้อำนวยการมอบหมาย

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน

มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

  1. ศึกษาและวิเคราะห์เพื่อเสนอแนะนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ แผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ มาตรการหรือแนวทางที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินในภาพรวมของประเทศ
  2. ศึกษาและวิเคราะห์เพื่อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม รวมทั้งจัดทำหลักเกณฑ์ วิธีการ และรูปแบบการจัดที่ดินในลักษณะแปลงรวมโดยไม่ให้กรรมสิทธิ์หรือรูปแบบในลักษณะอื่น
  3. ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ
  4. วิเคราะห์และพัฒนาเกณฑ์หรือดัชนีชี้วัดผลการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินในมิติต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและการพัฒนาที่ยั่งยืน
  5. ปฏิบัติงานในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
  6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ผู้อำนวยการมอบหมาย

กองส่งเสริมความร่วมมือและขับเคลื่อนการบริหารจัดการที่ดิน

มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

  1. เสนอแนะมาตรการหรือแนวทางเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน
  2. เสนอแนะมาตรการในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ
  3. ส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน รวมถึงการสร้างการรับรู้และความเข้าใจ
  4. ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้ที่ดินของประเทศให้เหมาะสมกับสภาพที่ดินและศักยภาพที่ดิน
  5. ติดตาม ประสานงาน สนับสนุน หรือเร่งรัดการดำเนินงานของคณะกรรมการตามกฎหมายอื่นหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ
  6. ขับเคลื่อนนโยบายและแก้ไขปัญหาการจัดที่ดินและการกระจายการถือครองที่ดิน เพื่อให้การใช้ที่ดินเกิดประโยชน์สูงสุด
  7. เสนอรายงานผลการดำเนินงานและประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
  8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ผู้อำนวยการมอบหมาย

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ดินและทรัพยากรดิน

มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

  1. เชื่อมต่อและบริหารจัดการระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ รวมทั้งพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
  2. ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาโปรแกรมประยุกต์เกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน
  3. เป็นศูนย์กลางบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศด้านที่ดินและทรัพยากรดิน รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูล บูรณาการฐานข้อมูล จัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ
  4. ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงาน
  5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ผู้อำนวยการมอบหมาย

ศูนย์บริหารจัดการและแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์ที่ดินและทรัพยากรดิน

มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

  1. เป็นศูนย์กลางในการรับ ประสาน ส่งต่อ เพื่อแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียนและเรื่องร้องทุกข์ด้านที่ดินและทรัพยากรดินของประชาชนในภาพรวมของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
  2. พิจารณาตรวจสอบ แสวงหาข้อเท็จจริง และแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนและเรื่องร้องทุกข์เกี่ยวกับที่ดินและทรัพยากรดิน
  3. ดำเนินงานในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาที่ดินและทรัพยากรดิน เพื่อเสนอแนะความเห็นให้คณะอนุกรรมการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาที่ดินและทรัพยากรดิน
  4. ติดตามผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว
  5. อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนหรือมวลชนที่มาพบ หรือชุมนุมต่อผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติด้วยสันติวิธี
  6. เป็นศูนย์บริหารจัดการข้อมูลเรื่องร้องเรียนและเรื่องร้องทุกข์เกี่ยวกับที่ดินและทรัพยากรดิน รวมทั้ง พัฒนาเครือข่ายระบบบริหารจัดการและฐานข้อมูลเรื่องร้องทุกข์ให้เป็นปัจจุบันและมีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ผู้อำนวยการมอบหมาย

กลุ่มตรวจสอบภายใน

มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

  1. ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของสำนักงาน
  2. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ผู้อำนวยการมอบหมาย

กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร

มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

  1. เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่ผู้อำนวยการเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการภายในสำนักงาน
  2. ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการภายในสำนักงาน
  3. ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่าง ๆ และหน่วยงานภายในสำนักงาน
  4. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ผู้อำนวยการมอบหมาย

ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต

มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

  1. เสนอแนะต่อผู้อำนวยการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของสำนักงาน รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปรามปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ และนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องเสนอต่อผู้อำนวยการ
  2. ประสานงาน เร่งรัด และกำกับให้ส่วนราชการในสำนักงานดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการ
  3. รับข้อร้องเรียนเรื่องการทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน และส่งต่อไปยังส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. คุ้มครองจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมของข้าราชการพลเรือน
  5. ประสานงาน เร่งรัด และติดตามเกี่ยวกับการดำเนินการตาม (3) และ (4) และร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบกับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  6. ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของสำนักงาน และคุ้มครองจริยธรรม เสนอต่อผู้อำนวยการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ผู้อำนวยการมอบหมาย